25530111

いろいろな問題

วันนี้มีข้อสงสัยหลายเรื่อง เป็นประเด็นสั้นๆที่พบเจอช่วงนี้ค่ะ

1.*หลังจากเรียนในคาบวันนี้แล้ว ก็เข้าใจแล้วค่ะ เพราะงั้นข้ามข้อนี้ไปเลยก็ได้นะคะ 555

จาก task 5 ที่อาจารย์ให้อัดเสียง แล้วถอดเทปมาให้จับกลุ่มอภิปรายกับเพื่อนในคาบที่แล้ว มีจุดนึงที่เพื่อนบอกว่าถ้าลองเปลี่ยนจะดีกว่ามั้ย คือให้เปลี่ยนจากพูดประโยคแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยเชื่อมด้วย てและ で เป็นตัดจบประโยคบ้าง

家へ帰ると、ええ、テレビをつけて、ニュースを見て、で、そのニュースは、ええ、あゆみさんが乗る…飛行機は事故があって、で、海に沈んだということが分かったの。

(หมายเหตุ : กรุณาอย่าดูความผิดพลาดทางไวยากรณ์และรูปประโยคนะ 555)

เพื่อนบอกว่าให้ตัดประโยคให้จบเป็น 家へ帰ると、ええ、テレビをつけて、ニュースを見た。แล้วค่อยขึ้นประโยคใหม่

เราก็เห็นด้วยว่าประโยคนี้มันยาวมาก และถ้าตัดมันก็น่าจะดูดีขึ้น

และก็รู้สึกขึ้นมาด้วยว่าตัวเองติดนิสัยพูดประโยคยาวๆ แล้วเชื่อมต่อกันแบบนี้ไปเรื่อยๆบ่อยๆ

แต่เรารู้สึกว่านิสัยการพูดแบบนี้มันแก้ได้ยาก เพราะเวลาพูดภาษาญี่ปุ่นเรานึกอะไรได้ก็ต้องพูดเลย แล้วอีกอย่างคิดว่าน่าจะเป็นเพราะภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่มีการจบประโยคที่ชัดเจนด้วย ทำให้เราติดนิสัยพูดแบบนี้

2. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับที่คุยในคาบที่แล้วเหมือนกัน คือในตอนที่คุยกัน มีสคริปต์ของเพื่อนคนนึงที่ใช้คำช่วยをกับคำกริยารูปสามารถ
เราก็เลยถามว่าต้องใช้ が รึเปล่าตามที่เรียนมา
แต่เพื่อนอีกคนก็บอกว่าเคยเห็นใช้をกับคำกริยารูปสามารถเหมือนกัน
เราก็รู้สึกเหมือนเคยเห็น แต่ก็ไม่แน่ใจเท่าไหร่ เลยปล่อยเรื่องนี้ไป
แต่ก็บังเอิญได้เจอการใช้をกับคำกริยารูปสามารถในหนังสือที่เพิ่งยืมมาจากห้องสมุดจริงๆ

たしかに日本語を話せる人にとっては日本語の文法は特に必要のないものですが、必要としている人たちもたくさんいます。(参考 『はじめての人の日本語文法』)


ตอนนี้เราเลยสงสัยว่าแล้วมันต่างจากการใช้ がกับคำกริยารูปสามารถยังไง - -?

3.จากหนังสือเล่มนั้น เรายังเจอประโยคที่ทำให้เราเกิดความสงสัยอีก ได้แก่


半年日本語を勉強しましただけど、まだあまり話せません。(参考 『はじめての人の日本語文法』)


(อย่าสนใจว่าประโยคนี้แปลกๆตรง だけど เพราะเป็นจุดที่เค้าจงใจผิด และอธิบายไว้ในหนังสือแล้วน่ะ)

สิ่งที่เราสงสัยคือ ในคาบที่แล้ว ตอนที่เราบอกว่าเราเคยใช้ประโยค 6年ごろ日本語を勉強しました ทุกคนก็ดูงงๆ
แล้วอาจารย์ก็สอนว่ารูปประโยคที่มีระยะเวลาบอกการกระทำกริยานั้นๆ
ถ้าเป็นกลุ่ม ②継続動詞 จะใช้รูป ระยะเวลา+กริยารูป ている ได้
ส่วนกลุ่ม ③瞬間動詞・結果動詞・変化動詞 ใช้รูป ระยะเวลา+กริยารูป ているไม่ได้ แต่ใช้รูป กริยาてから+ระยะเวลา+になります になりました 経ちます 経ちました แทน

เราเลยสงสัยว่า แล้วสรุปรูป ระยะเวลา+กริยารูปอดีต หรือรูปたอย่างที่เราใช้สามารถใช้ได้หรือไม่ (อย่างที่เห็นในหนังสือเ่ล่มนั้นยกตัวอย่างไว้)

(เหตุผลที่เราใช้รูปนั้นคือ เราคิดว่าณ ตอนที่เราพูด/เขียนประโยคที่บอกว่าเราทำอะไรมานานเท่าไหร่แล้ว สิ่งที่เราทำมาคือสิ่งที่ผ่านไปแล้วในอดีต และเราต้องการบอกระยะเวลาว่าเราทำสิ่งนี้มานานเท่าไหร่ เลยใช้เป็นรูปอดีต (งงมั้ย 555))

4. ต่อมาอีกประโยคที่เราสงสัยจากหนังสือเล่มนั้น

「安田成美を知っていますか。」
*知りませんが、あの人は有名な人ですか。」(参考 『はじめての人の日本語文法』)


ประโยคนี้อยู่ในแบบฝึกหัดทบทวนท้ายบท และประโยคที่มีเครื่องหมาย * คือประโยคที่เค้าบอกว่ามีข้อผิด และให้เราคิดว่ามันผิดเพราะอะไร

แต่ประเด็นคือ...เราไม่เห็นรู้เลยว่ามันผิดยังไง >ดูยังไงๆก็หาข้อผิดไม่เจอ แถมยังรู้สึกว่า็เป็นประโยคธรรมดาๆ - -"
มันผิดยังไงเนี่ยยยยยยย???

ก็มีข้อสงสัยอย่างที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ ^ ^;
ใครจะช่วยอธิบายตรงไหนก็ขอบคุณมากค่า 555

ป.ล.เกี่ยวกับหนังสือ 『はじめての人の日本語文法』(ที่ทำให้เราเกิดข้อสงสัยมากมาย) เป็นหนังสือที่น่าสนใจเหมือนกัน ถ้าอ่านจบจะเอามาพูดถึงอีกทีค่ะ ^ ^ (เพิ่งอ่านจบบทเดียวเอง ฮ่าๆ XD)
ป.ล.2 อัพตอนดึกๆ รู้สึกว่าเขียนไม่ค่อยรู้เรื่อง อ่านแล้วงงตรงไหนบอกได้นะคะ 555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น