25530228

ねじれ文(3):大発見?

โอ้ว ขอมาอัพบลอกอย่างเร่งด่วน 0.0

เนื่องจากตอนแรกได้ยินมาว่างานส่งวันที่ 3 แต่เพิ่งรู้เมื่อกี๊ว่าจริงๆส่งพรุ่งนี้อย่างที่เข้าใจตอนแรก -*-

เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็เข้าเรื่องเลยนะคะ

ที่ขึ้นหัวข้อว่า 大発見 หรือการค้นพบที่ยิ่งใหญ่นั้น ไม่รู้ว่าจะเป็นการเข้าใจผิดไปเองรึเปล่า แต่ก็จะลองสรุปเรื่องที่ตัวเองค้นพบจากการศึกษางานเขียนของคนญี่ปุ่นเพื่อให้เข้าใจหลักการเขียนที่ไม่เกิด ねじれ文 นะคะ

แต่ก่อนจะพูดถึงการค้นพบที่ยิ่งใหญ่(รึเปล่า?)ของเรานั้น ขอเท้าความถึงความเป็นมาก่อนหน้านั้นเล็กน้อย

ในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากไม่มีโอกาสที่จะต้องเขียนงานส่งแล้ว เราเลยต้องศึกษาหัวข้อ ねじれ文นี้ โดยการนำบทอ่านจากวิชาJP READ ทั้ง I และ II มาศึกษาเพื่อสังเกตดูประโยคที่เขียนได้คล้องกันทั้งประโยคของคนญี่ปุ่น

แต่ก็พบว่าประโยคแบบยาวๆแล้วไม่เกิด ねじれ文 ในบทอ่านนี่มีไม่มากเท่าไหร่เลย ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าพบประโยคที่มี ねじれ文 แต่อย่างใด แต่หมายความประโยคส่วนใหญ่มันไม่ได้ยาวติดกันเรื่อยๆน่ะค่ะ

ตอนแรกก็เครียดนิดนึงที่หาตัวอย่างมาศึกษาได้น้อย แต่อยู่ๆก็นึกถึงตอนพรีเซนต์ที่พี่วิจิตราได้แนะนำไว้ว่า ไม่ต้องพยายามเขียนยาวๆให้สอดคล้องกันทั้งประโยคก็ได้ แต่ให้เขียนประโยคสั้นๆดีกว่า

ทีนี้เลยเริ่มคิดขึ้นมาว่า หรือจริงๆรูปแบบการเขียนของภาษาญี่ปุ่นเค้าไม่นิยมประโยคยาวๆอยู่แล้วนะ?

เลยลองกลับไปอ่านบทอ่านเหล่านั้น และสังเกตดูอีกรอบ ก็พบว่าประโยคส่วนใหญ่ถ้าไม่ได้เชื่อมประโยคด้วยคำประเภท 接続助詞 เช่น が けれど から ก็ไม่ได้ยาวมากจริงๆด้วย เช่น

人間はいったいなぜ比喩などというものを使うのだろう。実例に即して考えてみたい。(参考 「比喩表現のいろいろ」)

ตอนนี้เราก็เข้าใจแล้วว่าเขียนประโยคญี่ปุ่นไม่ต้องยาวมากก็ได้จริงๆ แต่ก็เริ่มสงสัยขึ้นมาอีกว่า แล้วถ้าไม่ใช้พวกคำเชื่อมประโยค จะทำให้เนื้อความของแต่ละประโยคต่อเนื่องกันได้อย่างไร ขณะที่สงสัยก็ลองอ่านบทอ่านเหล่านั้นอีกรอบ ก็ได้ค้นพบเคล็ดลับ(?)บางอย่างในการเขียน文章ภาษาญี่ปุ่นค่ะ

1) การใช้คำประเภท こ・そ・あ เพื่อเชื่อมเนื้อความระหว่างประโยคก่อนหน้าและประโยคถัดไป เช่น

小学校に勤める0先生は、ある年から、障害児学級を担当することになりました。そこにTちゃんという二年生の女の子がいました。(参考 「人はなぜ書くのか」)


จะเห็นได้ว่าคำว่าそこในประโยคแรก หมายถึง小学校ในประโยคแรกนั่นเอง และทำให้ประโยคทั้ง 2 ประโยคเชื่อมกัน

2) การใช้คำที่เกี่ยวข้องกับประโยคด้านหน้ามาพูดต่อในประโยคถัดไป เช่น

花のパリというけれど、北緯五十度に位置するから、わりに寒い都で、九月半から暖房の入るところである。は底冷えがする。(参考 「温かいスープ」)


ใน 2 ประโยคนี้ ก็สังเกตได้ว่าคำคีย์เวิร์ดที่เชื่อมทั้ง 2 ประโยคไว้ด้วยกันคือคำว่า 寒い และ 冬 นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่รู้ว่าหลักการที่เราค้นพบนี้มันจะถูกต้องมั้ย แต่เราคิดว่ามันน่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเขียนประโยคที่มี ねじれ文 มากขึ้น และทำให้เราเข้าใจแล้วว่างานเขียนภาษาญี่ปุ่นไม่ต้องเขียนประโยคที่ยืดยาว แต่ทำให้ทั้งประโยคแต่ละประโยคและเนื้อความสอดคล้องกันโดยไม่ต้องใช้คำเชื่อมได้อย่างไร ตอนนี้เลยเริ่มเข้าใจที่เคยโดนเซนเซย์บอกว่าไม่ต้องใช้คำเชื่อมตรงนี้ก็ได้ว่าเป็นเพราะอย่างนี้นี่เอง และจะนำเคล็ดลับที่ได้ค้นพบครั้งนี้มาประยุกต์ใช้ในงานเขียนครั้งหน้าหากมีโอกาสแน่นอนค่ะ

25530212

ねじれ文(2)

ก่อนอื่นรู้สึกผิดมากที่ไม่ได้มาอัพบลอกเลยตั้งหลายอาทิตย์ >< วันนี้เลยจะมาอัพย้อนหลังนะคะ ^ ^; คราวนี้ก็จะมาอัพเรื่อง ねじれ文 (อีกแล้ว 555) ก่อนอื่นเป็นประโยคที่เราพบจาก志望理由書ของเด็กมธ.ที่อาจารย์เอามาให้ดูนะ
この授業は、日本語・日本文化研修生を研究テーマ毎にグループに分けた共同調査班によるフィールドワークのグループです


คิดว่าทุกคนน่าจะสังเกตเห็นทันทีเลยว่าภาคประธานและภาคแสดงไม่สอดคล้องกันอย่างชัดเจน คือตอนต้นพูดถึงคาบเรียน(この授業) แต่ตอนจบประโยคกลับบอกว่าเป็นกลุ่ม(グループです)

เราเลยจะขอลองแก้ประโยคนี้ดู เป็น...

この授業は、日本語・日本文化研修生を研究テーマ毎にグループに分けた共同調査班によるフィールドワークを中心とした授業です

แต่พอแก้ดูแล้ว ก็แอบรู้สึกแปลกๆตรงที่ทั้งต้นและท้ายประโยคเป็นคำเดียวกัน ถึงคิดว่ามันไม่(น่าจะ)ผิดหลักไวยากรณ์(รึเปล่า?) แต่ก็รู้สึกว่าแปลกๆยังไงไม่รู้ เลยลองแก้ดูใหม่เป็น...

この授業では、日本語・日本文化研修生を研究テーマ毎にグループに分けた共同調査班によるフィールドワークを行います

รู้สึกว่าแบบนี้น่าจะดีกว่า แต่ก็ไม่แน่ใจว่าถูกรึยัง ยังไงถ้าใครเห็นว่าควรแก้เป็นแบบอื่นยังไงก็บอกได้นะคะ

อ้อ แล้วก็ขอขอบคุณGoogle มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ที่ให้เซิร์ชหาวิธีใช้ 555

หลังจากที่ได้เห็นข้อผิดพลาดเรื่องねじれ文(ทั้งของตัวเองและคนอื่น)มาพอสมควรแล้ว พอเขียนงานอะไรเราก็รู้สึกว่าตัวเองระมัดระวังให้ภาคประธานและภาคแสดงสอดคล้องกันไปมากขึ้น ขอยกตัวอย่างประโยคที่เราคิดว่าเราได้意識เรื่องねじれ文ไปด้วยระหว่างที่เขียนนะคะ

貴大学での様々な授業を受け自分の日本語能力を上達するとともに、擬音語・擬態語のことについてより理解を深めたく、また、日本の文化や習慣などを身に付けたいと思っております。

เป็นประโยคที่เขียนตอนแก้タスク6ครั้งสุดท้ายค่ะ

ที่คิดว่าตัวเองระมัดระวังเรื่องนี้ตอนเขียนเพราะตอนเขียนประโยคนี้จะค่อยๆคิดมากว่าตอนเริ่มประโยคเราใช้กริยาแบบ意志動詞 ตอนต่อๆมาก็ต้องใช้กริยาแบบ意志動詞ต่อทั้งประโยค ไม่เผลอไปใช้กริยาแบบ無意志動詞 ซึ่งก็ใช้เวลาหาปรับแต่งประโยคอยู่พอสมควรเหมือนกัน และสุดท้ายพอให้อาจารย์ตรวจ ประโยคนี้ก็ไม่ผิดด้วย ดีใจมาก 555 (แต่ตรงอื่นก็ผิดนะ 555 XD)

*ขอแก้ไขเล็กน้อยค่ะ คือตรง 自分の日本語能力を上達する ตอนพรีเซนต์อาจารย์บอกว่ามันผิดนะ แต่ตอนคืนงานอาจารย์ไม่ได้แก้กลับมาก เราเลยนึกว่าถูกน่ะค่ะ สรุปก็ยังผิดเรื่องนี้อยู่ดี ><

แต่ถึงเราจะคิดว่าเราเริ่มมี意識ในเรื่องนี้แล้ว แต่หลังจากนั้นก็ผิดเรื่องนี้อีกจนได้ในวิชา JP WRIT III XD

なぜなら、私にとって結婚の良い点は子供がいる、いないかに関係なく、好きな人といられるからである。

อิเคะทานิเซนเซย์แก้ให้เป็น...

なぜなら、私にとって結婚の良い点は子供がいる、いないかに関係なく、好きな人といられることだからである

ตอนที่เราดูประโยคนี้ครั้งแรกก็งงว่าผิดยังไง เราก็อุตส่าห์ระวังว่าข้างหน้าเป็น なぜならแล้ว ข้างหลังจบด้วยからである ก็ไม่น่าจะผิดนี่นา แล้วทำไมต้องเติม ことだด้วย

เราเลยไปถามอ.กนกวรรณ อาจารย์ก็บอกว่านี่มันเป็น ねじれ文นี่นา เราก็คิด อ้าว ผิดเรื่องนี้งั้นหรอ ดูไม่ออกเลย 555 XD แล้วอาจารย์ก็ช่วยอธิบายให้ฟังว่าที่ต้องมี ことだก็เพราะว่าตรงภาคประธานเราเป็นคำนาม (私にとって結婚の良い点) เลยต้องจบด้วยคำนาม (好きな人といられることだ) ด้วยมันถึงจะสอดคล้องกันทั้งประโยค เราถึงได้เข้าใจ ต้องขอบคุณอาจารย์มากๆอีกครั้งนะคะ


ป.ล.จะสอบแล้ว T T