25521130

~てもらう

วันนี้จะมาอัพเรื่องนอกจากคาบเรียนภาษาศาสตร์ประยุกต์บ้าง

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อศุกร์ที่แล้วตอนหลังจากเลิกงานTA ปกติเราจะออกจากรร.พร้อมกับเซนเซย์ที่เราช่วยสอน แต่ก็มีบางทีที่เซนเซย์ต้องเคลียร์งานก็ให้เรากลับไปก่อนบ้าง วันนั้นเซนเซย์ก็ให้เรากลับไปก่อนเหมือนกัน โดยเซนเซย์พูดกับเราว่า...

お先に帰ってもらっていいですか?

คือจำประโยคแบบเป๊ะๆไม่ได้นะ แต่ที่แน่ๆมีรูป ~てもらう ต่อหลังคำว่า 帰る แน่นอน

ตอนที่เราฟังก็รู้สึกสะกิดใจว่าทำไมเซนเซย์ต้องใช้รูป ~てもらう ด้วยนะ เพราะจำได้ว่าเคยอ่านจากหนังสือฮอป สเต็ป จัมป์ บอกว่ารูปนี้แสดงถึงความรู้สึกเป็นบุญคุณต่ออีกฝ่าย เลยงงว่า...

การกลับบ้านของเราเป็นบุญคุณกับเซนเซย์...งั้นหรอ??
(อารมณ์เหมือน ~たら助かります ยังไงก็ไม่รู้ - -)

โดยส่วนตัวแล้วเรารู้สึกว่าการใช้~てもらうในสถานการณ์นี้มันให้อารมณ์แปลกๆยังไงก็ไม่รู้ เหมือนถ้าแปลเป็นไทยก็ประมาณ "ช่วยกลับไปก่อนได้มั้ย?" คือพูดตรงๆก็เหมือนโดนไล่อ่ะ -*-

หรือว่าจริงๆแล้วประโยคนี้อาจจะใช้ทั่วไปสำหรับคนญี่ปุ่น เราอาจจะคิด(มาก)ไปเอง...รึเปล่า - -?

อาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ คนไหนผ่านเข้ามาอ่านแล้วมีความเห็นว่าอย่างไรก็ช่วยคอมเมนท์ด้วยนะคะ ^ ^

25521124

タスク2: ストーリーテリング

จากเมื่อคราวที่แล้วที่อาจารย์ให้อัดเสียงเล่าเรื่องของคู่รักคู่หนึ่งโดยสมมติว่ากำลังเล่าให้เพื่อนสนิทฟังและให้เล่าแบบฉับพลัน(หลอนคำนี้กันมั้ย 555)

ในคาบวันนี้อาจารย์ก็แจกสคริปต์ที่ถอดเทปกันแล้วให้จับกลุ่มดิสคัสชั่นกับเพื่อน
ขั้นแรกอาจารย์ให้ดูว่ามีตรงไหนที่เราอยากพูดแต่ไม่ได้พูดในตอนนั้นหรือเปล่า
ของเราที่เจ็บใจมากๆตอนนั้นคือคำว่าวิก เพราะเคยรู้คำนี้อยู่แล้ว(จากชื่อนักเขียนการ์ตูนคนหนึ่ง ;D)
แต่ตอนพูดตอนนั้นดันนึกไม่ออกซะอย่างนั้น แล้วพอกลับบ้านก็นึกได้ - -!

ต่อมา อาจารย์ให้แก้ส่วนที่เป็นไวยากรณ์ที่ตรงไหนผิดให้ถูกต้อง หลังจากนั้นก็ให้คุยกับเพื่อน
แต่รู้สึกกลุ่มเราทุกคนจะหมกมุ่นกับการแก้ของตัวเองจนแทบไม่ได้คุยอะไรกันเลย ^ ^;

เสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ฟังที่เป็นของอาจารย์คนญี่ปุ่น 2 คนเล่าเรื่องนี้ แล้วสังเกตว่ามีความแตกต่างจากของเราอย่างไร
จากที่เราได้ฟังก็พบว่ามีความแตกต่างดังนี้

1.ทั้งน้ำเสียงและลีลาการพูดของเขาไม่เกร็ง ไม่ตื่นเต้น (มันแน่นอนอยู่แล้วรึเปล่านะ เหอๆ - -) ถึงแม้จะมีบางช่วงที่พูดติดขัดนิดหน่อย แต่ก็ฟังเป็นธรรมชาติ ต่างจากของเราที่เอ่อๆอ่าๆ เว้นอะไรไม่รู้นานมาก แถมเสียงก็ไม่ใช่ที่จะเล่าเรื่องสนุกๆให้เพื่อนฟังง่ะ -*-

2.ของอ.ทั้งสองจะใส่รายละเอียดเพิ่มเติมเยอะมาก สังเกตเห็นว่าทั้งอ.ผู้หญิงและอ.อิไวจะพูดถึงเรื่องที่ผู้ชายไปบ้านผู้หญิงแล้วไปเจอรูปก่อนศัลยกรรม ซึ่งเราเห็นว่าตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้การเล่าเรื่องดูเป็นธรรมชาติเหมือนเล่าเรื่องที่เราได้รู้มาจริงๆ นอกจากนี้ ตอนที่เป็นจุดไคลแมกซ์ของเรื่องคือตอนที่รู้ว่าผู้ชายคนนั้นก็หัวล้านใส่วิก อ.ทั้งสองก็ค่อยๆเล่าเป็นช็อตๆว่าเขาค่อยๆทำอย่างนี้ๆนะ ซึ่งก็ทำให้เรื่องที่เล่ามีรสชาติและทำให้ผู้ฟังสนุกสนานมากขึ้น แต่ของเรากลับเล่าแบบรวบรัดมากว่ามีแฟน โดนแฟนเห็นรูป แล้วจริงๆเค้าหัวล้าน จบ ประมาณนี้ -*-

3.อ.ทั้ง 2 คนใช้メタ言語เยอะมากในการเล่าเรื่อง เช่น ねえ、ねえ、聞いてよ、もう大ピンチでしょう?、何したと思う?、どうなったと思う?เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ฟังตื่นเต้นและเกิดความสนใจในเรื่องที่เล่ามากขึ้น ส่วนของเราก็มีใช้แต่แค่ครั้ง 2 ครั้งเอง - -"

4.สังเกตเห็นว่าเขาจะไม่ใช้คำพูดเรื่องหัวล้าน เรื่องวิกตรงๆเท่าไหร่ เช่น อ.ผู้หญิงจะใช้คำว่าツルツルピカピカแทนคำว่าหัวล้าน ในขณะที่อ.อิไวก็ไม่พูดถึงเรื่องหัวล้านเลย ส่วนคำว่าวิกทั้ง 2 คนก็ใช้คำว่า 髪の毛 แทน และคำว่าใส่วิกอ.อิไวก็ไม่ได้ใช้คำว่า かつらをつける แต่ใช้คำว่า かつらだ แทน ซึ่งตรงนี้รู้สึกว่าจะเป็นความแตกต่างในการใช้คำของภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น เพราะถ้าเป็นคนไทยก็จะใช้คำนั้นไปเลย ตอนเล่าเลยกังวลที่จะต้องหาคำศัพท์คำนั้นมาพูดให้ได้ - -"

5.นอกจาก ツルツルピカピカ แล้ว อ.ผู้หญิงก็ใช้ 擬態語 คำว่า ニコットตอนที่เ่ล่าว่าผู้ชายคนนั้นหัวเราะ ซึ่งตรงนี้เราก็เห็นว่าเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของภาษาญี่ปุ่นที่มีการใช้คำจำพวก擬音語・擬態語เยอะมาก ซึ่งทำให้เรื่องมีความสนุกสนานมากขึ้น

6.เขามีการใช้รูปถูกกระทำ(受け身)เยอะมาก เ่ช่น 見られる、振られる、怒られるซึ่งรู้สึกว่านี่ก็เป็นจุดเ่ด่นอย่างหนึ่งที่พบบ่อยในภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน เราเองก็พยายามฝึกใช้อยู่แต่ก็ใช้ไปแค่คำเดียวตอนพูดคือ 見られる เหอๆ

7.เรื่องคำลงท้าย の รู้สึกว่าเราจะไม่คุ้นกับการใช้คำนี้ลงท้ายประโยคบอกเล่าเลย ที่ใช้บ่อยๆจะเป็นในประโยคคำถามมากกว่า แต่ของอ.ผู้หญิงใช้เยอะมาก และแทบไม่ใช้คำลงท้าย よเลย นอกจากนี้ อีกคำที่เราใช้ไม่เป็นคือคำว่า わけ แต่เห็นอ.อิไวใช้อยู่บ่อยเหมือนกันเวลาเล่าเรื่อง ซึ่งคำเหล่านี้รู้สึกจะใช้กันบ่อยในบทสนทนาของคนญี่ปุ่น แต่เรากลับใช้ไม่เป็นเลยนี่สิ จะทำไงดีนะ -*-


จากการทำกิจกรรมครั้งนี้ก็ทำให้ได้เรียนรู้หลายๆอย่าง ได้รู้ว่าทักษะในการพูดภาษาญี่ปุ่นของเรา โดยเฉพาะในการสื่อสารเรื่องให้คนอื่นฟังยังต่ำอยู่มาก และได้รู้เคล็ดลับในการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นว่ามีรูปแบบอย่างไร ซึ่งก็หวังว่าเราจะสามารถจำไปใช้เวลาพูดจริงได้นะ เหอๆ *-*

ป.ล. วันนี้ตอนท้ายคาบอาจารย์พูดเรื่องภาษาญี่ปุ่นของคนญี่ปุ่นที่ยากที่จะเข้าใจว่าต้องการจะสื่ออะไรกันแน่ โดยยกตัวอย่างจากอีเมลล์และเรื่องของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นที่ประสบปัญหานี้ และมีตอนนึงมีเรื่องรูป です・ますว่าไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนไปใช้รูปเป็นกันเองได้ดีทั้งๆที่สนิทสนมกันแล้ว เพราะต่างฝ่ายก็ต่างไม่กล้าเปลี่ยนก่อน ซึ่งมันเป็นปัญหาเดียวกับที่เรากำลังสงสัยกับเพื่อนญี่ปุ่นคนนึงเลย และพอลองถามอาจารย์หลังจบชั่วโมง อาจารย์บอกให้เราลองทำหัวข้อนี้เป็นหัวข้อพอร์ท ซึ่งมันก็น่าสนใจ แต่ประเด็นคือเค้าไม่ค่อยตอบเมลล์เรานี่สิ -*-
แต่พอเช็กเมลล์วันนี้ก็ตกใจมากเพราะเค้าตอบเมลล์เรามาพอดี และในนั้นส่วนใหญ่ใช้รูป です・ます แต่ก็มีอยู่ประโยค 2 ประโยคใช้รูปธรรมดา ตอนตอบเราก็เลยแอบใช้รูปธรรมดาไปบ้างตามเค้า 555
อยากทำหัวข้อนี้เหมือนกันนะ แต่ไม่รู้เค้าจะตอบเมลล์เราบ่อยแค่ไหนนี่สิ เหอ - -"

25521123

タスク1:相手は何を知っているか?

★「1回目のメール→2回目のメール→3回目のメール」をもう一度読んでください。自分の日本語  
または書き方がよくなったか、どのように変わってきたか、例を出しながら、分かったこと、勉強になったこと(友達から、例から、先生から、自分で考えたことから)をブログにまとめてください。

*เขียนครั้งที่ 1*
タスクタイトル:ギタリスト(1回目)
山内さんへ
初めまして。タイ人のアティワンと申します。私は山内さんの歌が大好きで、よくコンサートを見に行きます。実は私の将来の夢はフラメンコ舞踊の伴奏家になることです。でも、もう5年ほどレッスンを受けていても、まだ上手ではありません。先日、山内さんのホームページで「個人レッスンを引き受ける」というお知らせを見て、応募したいと思います。日時や授業料など詳しい情報を問い合わせたいので、このメールを書きました。
よろしくお願いいたします。
アティワンより

*เขียนครั้งที่2*
タスクタイトル:ギタリスト(2回目)(カノックワンに提出したもの)
山内修二先生
初めまして。タイ人のアティワンと申します。突然のメール、お許しください。先生のホームページを見て、先生の個人レッスンをぜひ受けたいと思いました。私の将来の夢はフラメンコ舞踊の伴奏家になることです。5年ほど田中留男フラメンコギター教室の伴奏科で毎週4時間の個人レッスンを受けてきました。そして、田中先生に相談したところ、山内先生のレッスンを受けたら、きっと上達するというアドバイスをいただきました。ですから、先生に日時と授業料について聞きたいのです。日時については私は先生のご都合に応じられますから、先生のいいご都合を知らせてもらいたいです。
お返事は急ぎませんから、どうぞよろしくお願いいたします。
アティワン

*เขียนครั้งที่3*
タスクタイトル:ギタリスト(3回目)(最終版)
山内修二先生
初めまして。タイ人のアティワンと申します。突然のメール、お許しください。先生のホームページを見て、先生の個人レッスンをぜひ受けたいと思いました。私の将来の夢はフラメンコ舞踊の伴奏家になることです。5年ほど毎週4時間の田中留男フラメンコギターの個人レッスンを受けてきました。田中先生に相談したところ、山内先生のレッスンを受けたら、きっと上達するというアドバイスをいただきましたので、先生に教えていただければと思っています。では、ちょっと聞きたいことがあるんですが、1時間はどのぐらいでしょうか。そして、日時については私は先生のご都合に応じられますので、先生のいいご都合をお知らせいただけないでしょうか。
お返事は急ぎませんが、どうぞよろしくお願いいたします。
アティワン

รู้สึกว่าครั้งแรกเขียนแบบงงมากๆ
เพราะแทบไม่เคยเขียนอีเมลล์อย่างเป็นทางการหรือถึงผู้ใหญ่เท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเขียนถึงเพื่อนๆกันมากกว่า
เลยนึกพวกสำนวนอะไรที่เป็นทางการไม่ออกเลย แถมไม่รู้ด้วยว่าถึงคนไม่สนิทไม่ต้องใช้ へกับより
และไม่รู้ว่าจะเรียงลำดับเนื้อหาของอีเมลล์อย่างไรดีระหว่างเรื่องการแสดงความชื่นชมตัวนักกีตาร์คนนี้กับการบอกจุดประสงค์ว่าเราต้องการสมัครเรียน
จึงรู้สึกว่าเรียงลำดับเนื้อหาแบบแปลกๆที่จบว่าเขียนเมลล์นี้มาเพื่ออะไรไว้ตอนท้ายสุด - -
นอกจากนี้ยังไม่ระบุสิ่งที่ต้องการถามอย่างชัดเจน และเงื่อนไขเรื่องเวลาของตนไปให้ผู้รับทราบเลย เพราะคิดว่าถ้าบอกของตนไปจะเป็นการทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าต้องปรับตามเราไปด้วยซึ่งเสียมารยาทต่อนักกีตาร์ที่เราเคารพคนนี้ แต่อาจารย์ก็อธิบายให้ฟังว่าถ้าบอกก็มีข้อดีตรงที่จะได้ไม่ต้องส่งเมลล์ถามตอบกันไปมาหลายครั้ง หรือถ้าไม่บอก แต่เราปรับตามเขาได้ก็ควรบอกให้เขารู้ว่าเราสามารถปรับตามเขาได้ไปเลย
และเมื่อได้ดูชีทตัวอย่างที่อาจารย์ให้ทำให้ได้รู้สำนวนที่ใช้ในการเขียนจดหมายหรืออีเมลล์อย่างเป็นทางการที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย เช่น 「突然のメール、お許しください」 「お手数ですが」 「お返事は急ぎませんが」 เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้เห็นจากตัวอย่างในชีทว่าควรบอกพื้นฐานในการเรียนที่เรามีเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้สอนอีกด้วย

ในการเขียนครั้งที่ 2 รู้สึกว่าตัวเองแย่มากที่ส่วนใหญ่จะลอกตัวอย่างจากชีทมาและปรับแก้แค่เล็กน้อย แอบคิดว่ามันดีตรงที่อีเมลล์เราดูเป็นทางการกว่าครั้งแรกขึ้นมาก >.<,, แต่การเขียนครั้งนี้ก็ยังมีข้อด้อยตรงที่ใช้สำนวน「~たいです」「~から」ที่ไม่ควรใช้ในการเขียนอีเมลล์อย่างเป็นทางการและยังใช้คำถามเกี่ยวกับเงินค่าเรียนไปตรงๆซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องเสียมารยาทสำหรับคนญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามได้เพิ่มเติมรายละเอียดส่วนของเวลาที่เรียนว่าสามารถปรับตามผู้สอนได้ และตัดส่วนที่กล่าวชื่นชมผู้สอนที่ไม่จำเป็นออกไป

และในการเขียนครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายจึงได้ปรับแก้ตามที่อาจารย์ให้คอมเมนต์ไว้ และเพิ่มเติมประโยคบางประโยคเพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์ขึ้น แต่ก็รู้สึกว่าบ่อยครั้งที่ไม่สามารถหาคำเชื่อมประโยคที่เหมาะสมได้จนต้องแก้ประโยคหลายครั้งเพื่อให้เข้ากับคำเชื่อมที่ใช้ ทั้งๆที่ถ้าหาคำเชื่อมที่เหมาะสมได้ก็ไม่ต้องแก้ประโยคแท้ๆ - -"
และถึงแม้จะเป็นการแก้ครั้งสุดท้าย เมื่อสักครู่ลองอ่านทวนดูอีกครั้งก็พบว่ายังมีจุดบกพร่องอีก เช่น ตรงประโยค私の将来の夢はフラメンコ舞踊の伴奏家になることです。กับ 5年ほど毎週4時間の田中留男フラメンコギターの個人レッスンを受けてきました。ถ้าเชื่อมเป็นประโยคเดียวกันก็น่าจะดีกว่า และลืมถามเรื่องสถานที่เรียนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องที่ควรจะถามในการสมัครเรียนอีกด้วย (และอาจมีจุดอื่นๆอีกที่ยังไม่รู้ - -" )

สรุปคือ จากการเขียนอีเมลล์เพื่อขอสมัครเรียนกีตาร์ทั้ง 3 ครั้ง มีจุดที่ดีขึ้นตรงที่เนื้อความกระชับและระบุจุดประสงค์ชัดเจน และใช้สำนวนที่เป็นทางการ
สิ่งที่ได้เรียนรู้คือรูปแบบและสำนวนในการเขียนจดหมายหรืออีเมลล์อย่างเป็นทางการ ข้อมูลที่ควรบอกผู้รับให้ทราบ ทั้งยังได้เรียนรู้สำนวนและไวยากรณ์ที่ไม่ควรใช้ไปพร้อมๆกันอีกด้วย

25521117

初めまして!

เย้!
ในที่สุดก็ได้ฤกษ์เปิดบล็อกวิชาภาษาศาสตร์(ซักที 5555)

วันนี้ก็จะอัพเรื่องที่เรียนไปในคาบ(เท่าที่จำได้นะ 5555)
ก่อนอื่นอาจารย์เฉลยชีทสอบวัดระดับที่ให้ทำคราวที่แล้ว ซึ่งยากมากกกกกกกกกกกกก มีแต่ไวยากรณ์ที่ไม่รู้จักเต็มไปหมดเลย -*-
ที่ทำได้มีแค่ 2-3ข้อเองมั้ง (ถึงรึเปล่านะ ฮ่าๆ - -) ชักสงสัยแล้วว่าตัวเองผ่านระดับ 2 มาได้ไง - -!
แต่การทำชีทอันนี้ก็ดีตรงที่ทำให้ได้รู้ไวยากรณ์ใหม่เพิ่มเยอะมาก แต่ปัญหาคือจะจำไปใช้ได้รึเปล่านี่สิ - -

เสร็จแล้วอาจารย์ก็อธิบายชีทไวยากรณ์ที่แจกให้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วก็แจกแบบฝึกหัดคำเชื่อมที่แสดงความขัดแย้ง(มันเรียกว่าอะไรนะที่อาจารย์บอก 逆อะไรซักอย่าง - -? ลืมไปแล้วอ่ะ - -")ให้ทำ
โชคดีที่คราวนี้อาจารย์ช่วยอธิบายให้ฟังก่อนทำเลยทำได้
แต่ตอนที่ทำมินท์ถามเราว่า といっても กับからといってต่างกันยังไง เราก็ตอบไม่ได้แฮะ เพราะตอนที่ทำก็ใช้เซนส์ในการเลือกว่าอันไหนดูน่าจะใช่ - -"
ยังงี้ถึงจะทำถูกก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรสินะเนี่ย -*-

แล้วอาจารย์ก็ให้สอบเก็บคะแนน ซึ่งคราวนี้ยากกว่าคราวก่อนมากกกกกกกกกกกกก ถึงจะมีไวยากรณ์ที่รู้จักแต่พอเติมคำช่วยเพิ่มไปอย่าง いかんではเราก็งงแล้วอ่ะ แล้วบางอันถึงจะมีในชีทที่อ.ให้ทำครั้งแรกแต่ก็จำไม่ได้ง่า ตอนตรวจนี่รู้เลยว่าผิดเยอะ T T

แล้วอาจารย์ก็แจกชีทไวยากรณ์เพิ่มพร้อมกับบอกว่าคราวหน้าก็จะสอบพร้อมของเดิมอีก
โอ้ จะรอดมั้ยเนี่ย ต้องขยันจริงจังแล้วสินะ ><

หลังจากพัก 20 นาที (เข้าห้องช้า ขอโทษนะคะ >/\<) อาจารย์ก็อธิบายประโยคที่ใช้ผิดในงานที่ต้องส่งเมลสมัครเรียนกีตาร์คราวที่แล้วให้ฟัง พบว่าหลายอันเป็นอันที่เราใช้ไปในอันที่แก้คราวที่ 2 นี่หว่า ฮ่าๆ แย่จริง XD
แล้วก็ได้รู้สำนวนในการถามเรื่องเงินมาใหม่ว่าไม่ควรใช่คำเกี่ยวกับเงินตรงๆ แต่ให้เลี่ยงถามเป็น ~はどのぐらいでしょうか。เช่น1時間はどのぐらいでしょうか。(ไม่แน่ใจว่าตัวเองจดถูกมั้ย ระหว่างでしょうかกับですかเนี่ยอันไหนกันแน่นะ - -? )
แล้วอาจารย์ก็แจกตัวอย่างของเพื่อนให้ดูพร้อมชี้ว่าควรปรับปรุงตรงไหน ซึ่งหลายจุดก็พบว่าเป็นข้อบกพร่องที่เราก็เป็นเหมือนกัน เช่น การใช้คำ副詞ที่ไม่จำเป็น การใช้なるกับなれる การใช้アスペクトที่ไม่ถูกต้อง - -"

จากนั้นช่วงเวลาอันโหดร้ายก็มาถึงเมื่ออาจารย์ให้อัดเสียงเล่าเรื่องจากชีทที่แจกให้ >.เป็นเรื่องของผู้หญิงที่สวยเพราะทำศัลยกรรมทำให้ได้แฟนหล่อ จากนั้นถูกแฟนเห็นรูปสมัยก่อน แต่แฟนบอกว่าไม่เป็นไร เพราะเขาก็หัวล้านใส่วิกเหมือนกัน - -!
อาจารย์บอกให้พูดเหมือนกำลังเล่าให้เพื่อนฟังอยู่ และต้องเล่าให้รู้สึกสนุกสนาน
คือเรื่องมันก็ตลกอยู่นะ แต่เราเล่าได้ทุเรศมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
แบบว่าเสียงไม่ตื่นเต้นอะไรเล๊ย แถมเล่าติดๆขัดๆ หายไปนานมากกว่าจะนึกได้แต่ละคำ พูดจาก็ไม่รู้เรื่องอีก -*-
อัดเสร็จแล้วรู้สึกอยากร้องไห้ TT^TT
แถมอาจารย์ยังบอกว่าให้ไปแกะแล้วปริ๊นมาให้ทุกคนดูคาบหน้าอีก โอ้ ชีวิต OTL!!!
ถ้าคิดในแง่ดีก็คงดีกว่าต้องเปิดให้ทุกคนฟังสินะ TvT

เสร็จแล้วอาจารย์ก็สั่งงานให้พิมพ์เมลที่เขียนหานักกีตาร์+คอมเมนท์ตั้งแต่ครั้งแรก และเขียนแก้ครั้งที่3 ส่งจันทร์หน้า(ห้ามลืม ฮ่าๆ XD)
แล้วก็มีชีทแบบฝึกหัดไวยากรณ์อีกด้วย...

もう頑張らないと!*0*

ป.ล.ติดนิสัยเขียนบล็อกบ่นจริงๆนะเนี่ยเรา เหอๆ - -