25530228

ねじれ文(3):大発見?

โอ้ว ขอมาอัพบลอกอย่างเร่งด่วน 0.0

เนื่องจากตอนแรกได้ยินมาว่างานส่งวันที่ 3 แต่เพิ่งรู้เมื่อกี๊ว่าจริงๆส่งพรุ่งนี้อย่างที่เข้าใจตอนแรก -*-

เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็เข้าเรื่องเลยนะคะ

ที่ขึ้นหัวข้อว่า 大発見 หรือการค้นพบที่ยิ่งใหญ่นั้น ไม่รู้ว่าจะเป็นการเข้าใจผิดไปเองรึเปล่า แต่ก็จะลองสรุปเรื่องที่ตัวเองค้นพบจากการศึกษางานเขียนของคนญี่ปุ่นเพื่อให้เข้าใจหลักการเขียนที่ไม่เกิด ねじれ文 นะคะ

แต่ก่อนจะพูดถึงการค้นพบที่ยิ่งใหญ่(รึเปล่า?)ของเรานั้น ขอเท้าความถึงความเป็นมาก่อนหน้านั้นเล็กน้อย

ในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากไม่มีโอกาสที่จะต้องเขียนงานส่งแล้ว เราเลยต้องศึกษาหัวข้อ ねじれ文นี้ โดยการนำบทอ่านจากวิชาJP READ ทั้ง I และ II มาศึกษาเพื่อสังเกตดูประโยคที่เขียนได้คล้องกันทั้งประโยคของคนญี่ปุ่น

แต่ก็พบว่าประโยคแบบยาวๆแล้วไม่เกิด ねじれ文 ในบทอ่านนี่มีไม่มากเท่าไหร่เลย ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าพบประโยคที่มี ねじれ文 แต่อย่างใด แต่หมายความประโยคส่วนใหญ่มันไม่ได้ยาวติดกันเรื่อยๆน่ะค่ะ

ตอนแรกก็เครียดนิดนึงที่หาตัวอย่างมาศึกษาได้น้อย แต่อยู่ๆก็นึกถึงตอนพรีเซนต์ที่พี่วิจิตราได้แนะนำไว้ว่า ไม่ต้องพยายามเขียนยาวๆให้สอดคล้องกันทั้งประโยคก็ได้ แต่ให้เขียนประโยคสั้นๆดีกว่า

ทีนี้เลยเริ่มคิดขึ้นมาว่า หรือจริงๆรูปแบบการเขียนของภาษาญี่ปุ่นเค้าไม่นิยมประโยคยาวๆอยู่แล้วนะ?

เลยลองกลับไปอ่านบทอ่านเหล่านั้น และสังเกตดูอีกรอบ ก็พบว่าประโยคส่วนใหญ่ถ้าไม่ได้เชื่อมประโยคด้วยคำประเภท 接続助詞 เช่น が けれど から ก็ไม่ได้ยาวมากจริงๆด้วย เช่น

人間はいったいなぜ比喩などというものを使うのだろう。実例に即して考えてみたい。(参考 「比喩表現のいろいろ」)

ตอนนี้เราก็เข้าใจแล้วว่าเขียนประโยคญี่ปุ่นไม่ต้องยาวมากก็ได้จริงๆ แต่ก็เริ่มสงสัยขึ้นมาอีกว่า แล้วถ้าไม่ใช้พวกคำเชื่อมประโยค จะทำให้เนื้อความของแต่ละประโยคต่อเนื่องกันได้อย่างไร ขณะที่สงสัยก็ลองอ่านบทอ่านเหล่านั้นอีกรอบ ก็ได้ค้นพบเคล็ดลับ(?)บางอย่างในการเขียน文章ภาษาญี่ปุ่นค่ะ

1) การใช้คำประเภท こ・そ・あ เพื่อเชื่อมเนื้อความระหว่างประโยคก่อนหน้าและประโยคถัดไป เช่น

小学校に勤める0先生は、ある年から、障害児学級を担当することになりました。そこにTちゃんという二年生の女の子がいました。(参考 「人はなぜ書くのか」)


จะเห็นได้ว่าคำว่าそこในประโยคแรก หมายถึง小学校ในประโยคแรกนั่นเอง และทำให้ประโยคทั้ง 2 ประโยคเชื่อมกัน

2) การใช้คำที่เกี่ยวข้องกับประโยคด้านหน้ามาพูดต่อในประโยคถัดไป เช่น

花のパリというけれど、北緯五十度に位置するから、わりに寒い都で、九月半から暖房の入るところである。は底冷えがする。(参考 「温かいスープ」)


ใน 2 ประโยคนี้ ก็สังเกตได้ว่าคำคีย์เวิร์ดที่เชื่อมทั้ง 2 ประโยคไว้ด้วยกันคือคำว่า 寒い และ 冬 นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่รู้ว่าหลักการที่เราค้นพบนี้มันจะถูกต้องมั้ย แต่เราคิดว่ามันน่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเขียนประโยคที่มี ねじれ文 มากขึ้น และทำให้เราเข้าใจแล้วว่างานเขียนภาษาญี่ปุ่นไม่ต้องเขียนประโยคที่ยืดยาว แต่ทำให้ทั้งประโยคแต่ละประโยคและเนื้อความสอดคล้องกันโดยไม่ต้องใช้คำเชื่อมได้อย่างไร ตอนนี้เลยเริ่มเข้าใจที่เคยโดนเซนเซย์บอกว่าไม่ต้องใช้คำเชื่อมตรงนี้ก็ได้ว่าเป็นเพราะอย่างนี้นี่เอง และจะนำเคล็ดลับที่ได้ค้นพบครั้งนี้มาประยุกต์ใช้ในงานเขียนครั้งหน้าหากมีโอกาสแน่นอนค่ะ