25530116

タスク 5 REVISED:~て、~と・ねじれ文

จากที่อาจารย์ให้แก้ タスク5 เป็นครั้งที่ 2 และให้อาจารย์ตรวจ ก็พบว่ายังมีข้อผิดอยู่ดี

นั่นก็คือข้อความส่วนนี้

でも、家へ帰ると、テレビをつけて、(そのあゆみさんが)乗るはずだった飛行機が(実は)墜落してしまったというニュースが流れた

ส่วนที่วงเล็บคือส่วนที่อาจารย์ให้ตัดออกไป และส่วนที่ทำตัวอักษรสีคือส่วนที่ผิดหลักไวยากรณ์

ส่วนแรกคือ

家へ帰ると、テレビをつけて

อาจารย์ ได้อธิบายในห้องให้ฟังว่า เพราะหลัง ~と ต้องเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ แต่ประโยคของเรากลับบอกแค่ เปิดทีวี ซึ่งไม่ได้สำคัญอะไรเลย ถ้าเล่าให้คนอื่นฟังจริงๆ เค้าก็คงงง ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนเป็น

うちへ帰って、テレビをつけると

เพราะหลังจากนั้น จะเป็นประโยคที่บอกว่าในมีข่าวเรื่องเครื่องบินที่ไปขึ้นไม่ทันตก ซึ่งเป็นจุดสำคัญของเรื่องนี้

นี่ เป็นครั้งแรกที่เราเข้าใจวิธีการใช้รูปประโยคที่มี ~とและ ~て อยู่ด้วยกันว่าต้องใช้ยังไง เพราะที่ผ่านมาก็ใช้มั่วๆตลอดเลย ต้องขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยอธิบายให้เข้าใจจริงๆค่ะ ^ ^

ส่วนต่อมาคือ

が流れた

ดูแล้วอาจจะงงว่าทำไมเป็นส่วนสั้นๆแค่นี้ แต่นี่เป็นข้อผิดที่สำคัญมาก เพราะเป็นข้อผิดเรื่อง ねじれ文 ที่เป็นหัวข้อพอร์ทเรา 555

ส่วนนี้ผิดเนื่องจาก ภาคประธาน และ ภาคแสดงของเราไม่สอดคล้องกัน หรือเป็น ねじれ文 นั่นเอง

เพราะ ในประโยคส่วนแรก เราบอกว่า อายูมิกลับบ้านมา พอเปิดทีวี แต่ประโยคต่อไปเรากลับบอกว่า ข่าวออกอากาศเรื่องเครื่องบินตก กล่าวคือ ประธานยังคงเป็นอายูมิอยู่ แต่กริยากลายเป็นคำว่า 流れた หรือออกอากาศ ทำให้ประโยคนี้ไม่สอดคล้องกันนั่นเอง จึงควรแก้ส่วนหลังเป็น ニュースを聞いた หรืิอ ニュースを見た เพื่อให้ภาคประธานและภาคแสดงของประโยคนี้สอดคล้องกัน

ในส่วนนี้ที่ผิด เรายอมรับเลยว่าส่วนนึงเพราะดูจากสคริปต์ของคนญี่ปุ่นที่อาจารย์แจกให้ เค้าใช้คำว่า 流れた เหมือนกันเลยใช้ตามบ้าง จากประโยค あとから、その飛行機のニュースが流れました。แต่เราไม่ได้สังเกตเลยว่าในประโยคนี้เ้ค้ามีประธานแค่อย่างเดียวคือ ニュース ไม่ มีอย่างอื่นอยู่ข้างหน้าแบบเรา และอีกส่วนคือ ตอนที่เราเช็คดูอีกครั้งว่าประโยคนั้นมันแปลกมั้ย เราก็ไม่รู้สึกว่ามันแปลก อาจเพราะเราคิดเป็นภาษาไทยประมาณว่า พอกลับบ้าน เปิดทีวี ข่าวก็รายงานเรื่องเครื่องบินตก ซึ่งดูไม่แปลกในภาษาไทย แต่ผิดหลักภาษาญี่ปุ่น - -

จากข้อผิดคราวนี้ ทำให้เราได้ตระหนักว่า...

1.ไม่ควรลอกแบบประโยคของคนอื่น (ถึงแม้เป็นคนญี่ปุ่น) มาเป๊ะๆเลย เพราะเราอาจใช้รูปประโยคต่างจากเค้า และเกิดข้อผิดพลาดได้ 555

2.ควรตรวจดูความสัมพันธ์ระหว่างภาคประธานและภาคแสดงของประโยคนั้นๆให้ดีๆ และไม่ควรคิดตามหลักภาษาไทย เพราะเราจะไม่意識ตามหลักภาษาญี่ปุ่น

3.พยายามเขียนแบ่งประโยคบ้าง อย่าเขียนติดกันยาวๆจนเกินไป เพราะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย เช่นคราวนี้ - -

คิดว่าถ้าระมัดระวังตรงจุดเหล่านี้ก็น่าจะลดข้อผิดพลาดเรื่อง ねじれ文 ได้มากขึ้น(มั้ง) 555

25530111

いろいろな問題

วันนี้มีข้อสงสัยหลายเรื่อง เป็นประเด็นสั้นๆที่พบเจอช่วงนี้ค่ะ

1.*หลังจากเรียนในคาบวันนี้แล้ว ก็เข้าใจแล้วค่ะ เพราะงั้นข้ามข้อนี้ไปเลยก็ได้นะคะ 555

จาก task 5 ที่อาจารย์ให้อัดเสียง แล้วถอดเทปมาให้จับกลุ่มอภิปรายกับเพื่อนในคาบที่แล้ว มีจุดนึงที่เพื่อนบอกว่าถ้าลองเปลี่ยนจะดีกว่ามั้ย คือให้เปลี่ยนจากพูดประโยคแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยเชื่อมด้วย てและ で เป็นตัดจบประโยคบ้าง

家へ帰ると、ええ、テレビをつけて、ニュースを見て、で、そのニュースは、ええ、あゆみさんが乗る…飛行機は事故があって、で、海に沈んだということが分かったの。

(หมายเหตุ : กรุณาอย่าดูความผิดพลาดทางไวยากรณ์และรูปประโยคนะ 555)

เพื่อนบอกว่าให้ตัดประโยคให้จบเป็น 家へ帰ると、ええ、テレビをつけて、ニュースを見た。แล้วค่อยขึ้นประโยคใหม่

เราก็เห็นด้วยว่าประโยคนี้มันยาวมาก และถ้าตัดมันก็น่าจะดูดีขึ้น

และก็รู้สึกขึ้นมาด้วยว่าตัวเองติดนิสัยพูดประโยคยาวๆ แล้วเชื่อมต่อกันแบบนี้ไปเรื่อยๆบ่อยๆ

แต่เรารู้สึกว่านิสัยการพูดแบบนี้มันแก้ได้ยาก เพราะเวลาพูดภาษาญี่ปุ่นเรานึกอะไรได้ก็ต้องพูดเลย แล้วอีกอย่างคิดว่าน่าจะเป็นเพราะภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่มีการจบประโยคที่ชัดเจนด้วย ทำให้เราติดนิสัยพูดแบบนี้

2. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับที่คุยในคาบที่แล้วเหมือนกัน คือในตอนที่คุยกัน มีสคริปต์ของเพื่อนคนนึงที่ใช้คำช่วยをกับคำกริยารูปสามารถ
เราก็เลยถามว่าต้องใช้ が รึเปล่าตามที่เรียนมา
แต่เพื่อนอีกคนก็บอกว่าเคยเห็นใช้をกับคำกริยารูปสามารถเหมือนกัน
เราก็รู้สึกเหมือนเคยเห็น แต่ก็ไม่แน่ใจเท่าไหร่ เลยปล่อยเรื่องนี้ไป
แต่ก็บังเอิญได้เจอการใช้をกับคำกริยารูปสามารถในหนังสือที่เพิ่งยืมมาจากห้องสมุดจริงๆ

たしかに日本語を話せる人にとっては日本語の文法は特に必要のないものですが、必要としている人たちもたくさんいます。(参考 『はじめての人の日本語文法』)


ตอนนี้เราเลยสงสัยว่าแล้วมันต่างจากการใช้ がกับคำกริยารูปสามารถยังไง - -?

3.จากหนังสือเล่มนั้น เรายังเจอประโยคที่ทำให้เราเกิดความสงสัยอีก ได้แก่


半年日本語を勉強しましただけど、まだあまり話せません。(参考 『はじめての人の日本語文法』)


(อย่าสนใจว่าประโยคนี้แปลกๆตรง だけど เพราะเป็นจุดที่เค้าจงใจผิด และอธิบายไว้ในหนังสือแล้วน่ะ)

สิ่งที่เราสงสัยคือ ในคาบที่แล้ว ตอนที่เราบอกว่าเราเคยใช้ประโยค 6年ごろ日本語を勉強しました ทุกคนก็ดูงงๆ
แล้วอาจารย์ก็สอนว่ารูปประโยคที่มีระยะเวลาบอกการกระทำกริยานั้นๆ
ถ้าเป็นกลุ่ม ②継続動詞 จะใช้รูป ระยะเวลา+กริยารูป ている ได้
ส่วนกลุ่ม ③瞬間動詞・結果動詞・変化動詞 ใช้รูป ระยะเวลา+กริยารูป ているไม่ได้ แต่ใช้รูป กริยาてから+ระยะเวลา+になります になりました 経ちます 経ちました แทน

เราเลยสงสัยว่า แล้วสรุปรูป ระยะเวลา+กริยารูปอดีต หรือรูปたอย่างที่เราใช้สามารถใช้ได้หรือไม่ (อย่างที่เห็นในหนังสือเ่ล่มนั้นยกตัวอย่างไว้)

(เหตุผลที่เราใช้รูปนั้นคือ เราคิดว่าณ ตอนที่เราพูด/เขียนประโยคที่บอกว่าเราทำอะไรมานานเท่าไหร่แล้ว สิ่งที่เราทำมาคือสิ่งที่ผ่านไปแล้วในอดีต และเราต้องการบอกระยะเวลาว่าเราทำสิ่งนี้มานานเท่าไหร่ เลยใช้เป็นรูปอดีต (งงมั้ย 555))

4. ต่อมาอีกประโยคที่เราสงสัยจากหนังสือเล่มนั้น

「安田成美を知っていますか。」
*知りませんが、あの人は有名な人ですか。」(参考 『はじめての人の日本語文法』)


ประโยคนี้อยู่ในแบบฝึกหัดทบทวนท้ายบท และประโยคที่มีเครื่องหมาย * คือประโยคที่เค้าบอกว่ามีข้อผิด และให้เราคิดว่ามันผิดเพราะอะไร

แต่ประเด็นคือ...เราไม่เห็นรู้เลยว่ามันผิดยังไง >ดูยังไงๆก็หาข้อผิดไม่เจอ แถมยังรู้สึกว่า็เป็นประโยคธรรมดาๆ - -"
มันผิดยังไงเนี่ยยยยยยย???

ก็มีข้อสงสัยอย่างที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ ^ ^;
ใครจะช่วยอธิบายตรงไหนก็ขอบคุณมากค่า 555

ป.ล.เกี่ยวกับหนังสือ 『はじめての人の日本語文法』(ที่ทำให้เราเกิดข้อสงสัยมากมาย) เป็นหนังสือที่น่าสนใจเหมือนกัน ถ้าอ่านจบจะเอามาพูดถึงอีกทีค่ะ ^ ^ (เพิ่งอ่านจบบทเดียวเอง ฮ่าๆ XD)
ป.ล.2 อัพตอนดึกๆ รู้สึกว่าเขียนไม่ค่อยรู้เรื่อง อ่านแล้วงงตรงไหนบอกได้นะคะ 555

25530103

「~ちゃん」つけなくていい?

ก่อนอื่นขอสวัสดีปีใหม่ย้อนหลังหน่อยนะคะ
(ดองบล็อกข้ามปีเลยทีเดียว 555)
หลังจากนี้จะพยายามอัพให้บ่อยขึ้นแล้วค่ะ ><

วันนี้จะมาอัพเรื่องการเติมคำว่า~ちゃんหลังชื่อของคนญี่ปุ่น
ตอนนี้เราเริ่มเกิดข้อสงสัยแล้วว่ามันใช้ยังไงกันแน่
จากเดิมที่เราเข้าใจว่าใช้ในหมู่คนที่สนิทกัน ผู้ใหญ่เรียกเด็ก เพื่อนเรียกเพื่อน(โดยเฉพาะเพื่อนผู้หญิง) ประมาณนี้
แต่จากเมลล์ที่เพื่อนญี่ปุ่นส่งมาให้เราทำให้เราแอบงงเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมานิดหน่อยแล้วล่ะ - -"

เรื่องมีอยู่ว่า เพื่อนผู้หญิงญี่ปุ่นคนนึงที่ก่อนหน้านี้ใช้รูปสุภาพ (รูปです・ます) คุยกันกับเรา (คนที่เราเคยสงสัยนั่นแหละว่าจะเปลี่ยนไปใช้รูปกันเองกับเค้ายังไง 555 (ใครงงไปอ่านตรงป.ล.ของเรื่อง タスク2: ストーリーテリングนะ))

วันนึงเพื่อนคนนี้ส่งเมลล์มาหาเราแล้วตรงชื่อเมลล์เขียนว่า フォンへ เราก็งงๆนิดนึงเพราะปกติเค้าเรียกเราว่าフォンさん แล้วพอกดเข้าไปอ่านก็ยิ่งตกใจ เพราะคราวนี้ในเมลล์เขียนเป็นรูปกันเองหมดเลย ไม่มีรูปです・ますแม้แต่น้อย แต่ตอนนั้นก็ดีใจว่าเราไม่ต้องค่อยๆเปลี่ยนแล้ว เค้าเป็นคนเปลี่ยนมาเองหมดเลย เย้ๆ 5555

ทีนี้ตอนตอบเมลล์ก็เลยใช้รูปกันเองตามเค้า แต่พอจะเขียนชื่อเค้าก็หยุดคิดนิดนึงว่าจะเรียกเค้าห้วนๆอย่างที่เค้าเรียกเราดีหรอ หรือจะใส่~ちゃんแบบที่เราเรียกเพื่อนญี่ปุ่นของเราอีกคน คิดอยู่นาน ไปๆมาๆก็เลยใช้ตามเค้า ไม่ใส่~ちゃんหลังชื่อ (ตามสำนวนเห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง ฮ่าๆ XD) พอเค้าตอบกลับมาก็ไม่มีพูดถึงเรื่องนี้ แล้วเราก็ลืมเรื่องนี้ไป

แต่อยู่มาวันนึงเราส่งเมลล์หาเค้า แล้วเราก็ลืมว่าคราวที่แล้วเราไม่ได้ใส่~ちゃんหลังชื่อเค้า คราวนี้เลยใส่ลงไปด้วยความเคยชิน และด้วยคิดว่ามันดูเป็นธรรมชาติดีเวลาคุยกะเพื่อนผู้หญิง (และดูน่ารักดีด้วย อิอิ ;D) แต่ตอนเค้าตอบมาตรงท้ายเมลล์เค้าบอกว่า

あと、ちゃんつけなくていいよ~!
あたしもフォンて呼ぶから(>∪<)

เราก็เลยเริ่มสงสัยว่า อ้าว ทำไมใช้~ちゃんไม่ได้ล่ะ
ตามความรู้สึกเราคือเรียกชื่อเฉยๆมันห้วนๆไปหน่อย แล้วก็เพื่อนผู้หญิงส่วนใหญ่ก็น่าจะใช้~ちゃんหลังชื่อกันนี่นา
ยกเว้นที่สนิทกันมากๆแบบเพื่อนญี่ปุ่นเรากะเพื่อนม.ปลายของเค้าที่เรียกกันด้วยชื่อเฉยๆอ่ะ
หรือนี่จะเป็นการบอกว่าเค้าอยากสนิทกะเรามากในระดับนั้น?
เราก็งงๆ แต่ก็ไม่รู้จะถามเค้ายังไง
ถ้าใครรู้เรื่องนี้ยังไงก็ช่วยอธิบายด้วยนะคะ (<- อีกแล้ว ฮ่าๆ)